เรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง การคูณและการหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นายวิชิต แจ่มใส
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)
เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน
และหลังเรียน
ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3)
เพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง การคูณและการหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนบ้านตายัวะ อำเภอปราสาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์
เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive
Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ คือ 1)
แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง
การคูณและการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การคูณและการหาร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย
ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ
3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าเฉลี่ย , ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
และสถิติการทดสอบค่าที กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน t-test for Dependent
Samples)
ผลการศึกษาพบว่า 1) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง การคูณและการหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.58/90.33
สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง
การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด